ภาษีทรัมป์ กระทบกับตลาดการเงินทั่วโลกอย่างไรในปี 2025?  

2025-04-17 | ภาษีชุดใหม่ , ภาษีทรัมป์ , ภาษีศุลกากรตอบโต้

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศใช้นโยบาย “ภาษีศุลกากรตอบโต้” (Reciprocal Tariff) หรือ ภาษีทรัมป์ ฉบับใหม่ ที่มุ่งเป้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเกินความคาดหมายของตลาดอย่างมาก การเคลื่อนไหวนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของนโยบายการค้าสหรัฐฯ และส่งสัญญาณถึงการปรับโครงสร้างใหม่ของระบบการค้าโลก 

การประกาศดังกล่าวสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วตลาดการเงินทั่วโลก โดยเกิดแรงตอบรับอย่างฉับพลันและรุนแรงจากทั้งนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ แล้วภาษีชุดใหม่ของทรัมป์มีรายละเอียดอย่างไร? และจะส่งผลต่อทิศทางของตลาดการเงินในปี 2025 อย่างไร? มาดูในบทความนี้กัน  

เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ทรัมป์ได้เปิดตัวกรอบนโยบายภาษีใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการปัญหาการขาดดุลทางการค้าระดับโลก โดยมีมาตรการสำคัญดังต่อไปนี้: 

  • เก็บภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศทั่วโลก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน เวลา 00:01 น. 
  • กำหนดอัตราภาษีเฉพาะประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ สูงที่สุด อัตราภาษีจะอยู่ในช่วง 10% – 49% เริ่มมีผลในวันที่ 9 เมษายน ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้จะถูกจัดเก็บตามอัตราพื้นฐานที่ 10% 
  • เก็บภาษี 25% สำหรับรถยนต์นำเข้าทุกรุ่นจากทุกประเทศ มีผลบังคับใช้ทันที 

จากงานวิจัยของ Yale University พบว่า มาตรการใหม่นี้ส่งผลให้ อัตราภาษีเฉลี่ยของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 22.5% ซึ่งนับว่าเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 1909 และมากกว่าค่าประมาณการณ์เดิมที่อยู่ราว 10% ถึง 2 เท่า 

นโยบายภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายหลักอยู่ 3 ข้อสำคัญ: 

  • แก้ไขปัญหาดุลการค้า: ทรัมป์ต้องการตอบโต้สิ่งที่เขาเรียกว่า “แนวทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม” โดยมีเป้าหมายในการนำงานด้านการผลิตกลับคืนสู่สหรัฐฯ 
  • กระตุ้นการจ้างงานในประเทศ: ด้วยการทำให้สินค้าที่ผลิตในอเมริกามีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น รัฐบาลคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมและสร้างตำแหน่งงานใหม่ให้กับชาวอเมริกัน 
  • เพิ่มรายได้ให้รัฐบาลกลาง: การจัดเก็บภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นจะสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับรัฐบาล ซึ่งจะช่วยสนับสนุนงบประมาณของประเทศ 

หลังจากมีการประกาศนโยบายภาษีใหม่ ตลาดการเงินตอบสนองอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งในแง่ของ :  

ตลาดหุ้นดิ่งแรง 

  • เมื่อวันที่ 3 เมษายน ดัชนี Dow Jones, S&P 500 และ Nasdaq ต่างพากันร่วงหนัก โดยแตะระดับการปรับตัวลดลงรายวันที่แรงที่สุดในรอบหลายปี 
  • แรงขายยังคงต่อเนื่องในวันที่ 4 เมษายน โดยดัชนี S&P 500 ดิ่งลงถึง 5.97% ซึ่งเป็นการร่วงลงรายวันที่แรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 

ดอลลาร์อ่อนค่า 

  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (US Dollar Index) ร่วงจากระดับเหนือ 104 ลงมาต่ำกว่า 102 ภายในวันเดียส่งผลให้สกุลเงินหลักอื่นๆ แข็งค่าขึ้นทันที 

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน 

  • ทองคำ พุ่งขึ้นเกือบแตะระดับ $3,200 ต่อออนซ์ ก่อนจะย่อตัวลง เนื่องจากเงินทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอื่น 
  • น้ำมันดิบ ร่วงลงกว่า 4% จากความกังวลว่าอุปสงค์ด้านพลังงานทั่วโลกจะลดลงตามภาวะการค้าที่ย่อตัว 

สินค้าอุปโภคบริโภค 

การปรับขึ้นภาษีรอบนี้กระทบกับสินค้าผู้บริโภคหลายประเภท หลายบริษัทที่เคยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอย่างเวียดนามและไทย เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีในรอบก่อน กลับต้องพบว่าประเทศเหล่านี้ถูกจัดอยู่ใน “กลุ่มภาษีสูง” ด้วยเช่นกัน 

แบรนด์ดังอย่าง Nike และ Adidas มีราคาหุ้นร่วงลงเกือบ 10% หลังจากมีประกาศภาษีใหม่ 

อุตสาหกรรมยานยนต์ 

ผู้ผลิตรถยนต์ต่างประเทศต้องเจอกับภาษีนำเข้าสหรัฐฯ สูงถึง 25% แบรนด์หรูอย่าง BMW และ Mercedes-Benz ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยต้นทุนการนำเข้ารถบางรุ่นเพิ่มขึ้นถึง $20,000 ต่อคัน 

ภาษีจะมีการเจรจาลดลงหรือไม่? 

รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ Vincent Besson ระบุว่าแผนภาษีวันที่ 2 เมษายนถือเป็น “เพดานสูงสุด” ซึ่งบ่งชี้ว่ายังมีพื้นที่สำหรับการเจรจาในช่วงไม่กี่สัปดาห์ถัดไป การพูดคุยระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้า ถือเป็นปัจจัยสำคัญ หากมีสัญญาณของการประนีประนอม อาจช่วยลดแรงกดดันในตลาดได้ 

เมื่อวันที่ 9 เมษายน ทรัมป์ประกาศ ชะลอการบังคับใช้ภาษีใหม่ชั่วคราว โดยลดอัตราภาษีเหลือ 10% สำหรับสินค้านำเข้าจากคู่ค้าสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ และให้เวลาการเจรจา 90 วัน 

ตลอดช่วง 3 เดือนข้างหน้า การเจรจาเพื่อปรับลดอัตราภาษีจริงจะเป็นประเด็นหลัก และผลลัพธ์จากการเจรจานี้อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาดการเงินทั่วโลก 

ความไม่แน่นอนด้านนโยบายเศรษฐกิจพุ่งสูง 

Source : FRED

หลังจากมีประกาศภาษี ดัชนีความไม่แน่นอนด้านนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (Economic Policy Uncertainty Index) พุ่งสูงขึ้นทันที เมื่อความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจมักจะชะลอการลงทุน ซึ่งนำไปสู่ความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยภายในปีนี้ 

ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ตลาดได้สะท้อนคาดการณ์ว่า Fed อาจปรับลดดอกเบี้ยมากถึง 5 ครั้งในปี 2025 คิดเป็นรวม 125 จุดเบสิส บางฝ่ายคาดว่า Fed อาจเริ่มดำเนินการก่อนการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งถัดไป 

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ทรัมป์ประกาศชะลอการบังคับใช้ภาษีแบบเต็มรูปแบบ ความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยแบบรุนแรงก็เริ่มลดลง แต่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังคงผันผวนสูง สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของความเชื่อมั่นในตลาด 

การเคลื่อนไหวของตลาดในระยะยาว  

ทรัมป์แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า “ภาษีศุลกากรคือหัวใจของนโยบายเศรษฐกิจของเขา” และมีแนวโน้มว่าจะยังคงใช้อย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่า ความไม่แน่นอนจากการเจรจาการค้าระหว่างประเทศจะยังคงส่งผลกระทบต่อตลาด อย่างต่อเนื่อง 

นักลงทุนระยะยาวจึงจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นนี้ในการจัดพอร์ตลงทุน เพราะทุกความเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการประกาศภาษีใหม่ หรือความคืบหน้าทางการทูต อาจส่งแรงกระเพื่อมไปทั่วทั้งอุตสาหกรรมได้ทันที 

ความอ่อนไหวของตลาดในระยะสั้น 

นับตั้งแต่ประกาศภาษีเมื่อวันที่ 2 เมษายน ความผันผวนในตลาดระยะสั้นทวีความรุนแรงขึ้น ตัวอย่างเช่น วันที่ 8 เมษายน เพียงแค่มีข่าวลือว่า การบังคับใช้ภาษีอาจถูกเลื่อน ทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นทันที แต่ไม่นานก็ร่วงลงอย่างรวดเร็วหลังจากมีการยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เหตุการณ์แบบนี้สะท้อนว่า ตลาดมีความไวสูงต่อข่าวสารเชิงนโยบาย ความผันผวนของราคาและความรู้สึกนักลงทุนจึงอาจยังคงอยู่ต่อเนื่องตลอดช่วงหลายเดือนข้างหน้า 

ไม่กี่เดือนข้างหน้านี้จะเป็นช่วงเวลาสำคัญว่า แต่ละประเทศจะสามารถเจรจาลดอัตราภาษีได้หรือไม่ เพราะท่าทีของการเจรจาการค้าโลกจะส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและแนวโน้มตลาดโลกในระยะนี้ สิ่งสำคัญคือ ความคล่องตัว นักลงทุนควรจับตาการเปลี่ยนแปลงนโยบายทั่วโลกและเตรียมพร้อมปรับพอร์ต เพื่อลดความเสี่ยง และ คว้าโอกาส ที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 

อ่านบทความวิเคราะห์ตลาดอีกมากมายที่นี่


การเปิดเผยความเสี่ยง 
หลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส CFD และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงินพื้นฐาน เนื่องจากความเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดเดาไม่ได้ อาจเกิดการขาดทุนมากกว่าการลงทุนเริ่มต้นของท่านในระยะเวลาอันสั้น    
โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายกับเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภทอย่างถ่องแท้ก่อนทำธุรกรรมกับเรา หากท่านไม่เข้าใจความเสี่ยงดังที่ได้อธิบายไว้ในนี้ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอิสระ 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ   
ข้อมูลที่ปรากฏในบล็อกนี้มีไว้เพื่ออ้างอิงทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาให้เป็นคำแนะนำการลงทุน ข้อเสนอแนะ คำเชิญ หรือการเสนอขายหรือซื้อเครื่องมือทางการเงินใดๆ ทั้งนี้ไม่ได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์การลงทุนหรือสถานการณ์ทางการเงินเฉพาะของผู้รับข้อมูลแต่ละราย ผลการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลการดำเนินงานในอนาคต Doo Prime และบริษัทในเครือไม่ให้การรับรองหรือรับประกันใดๆ เกี่ยวกับความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลนี้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการใช้ข้อมูลนี้หรือลงทุนตามข้อมูลดังกล่าว  
กลยุทธ์ที่กล่าวถึงข้างต้นสะท้อนถึงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ควรใช้หรือพิจารณาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจซื้อขายหรือคำเชิญชวนให้เข้าทำธุรกรรมใดๆ Doo Prime ไม่รับรองความถูกต้องหรือความครบถ้วนของรายงานนี้และปฏิเสธความรับผิดใดๆ ต่อความเสียหายที่เป็นผลมาจากการใช้รายงานนี้ คุณไม่ควรพึ่งพารายงานนี้แต่เพียงอย่างเดียวเพื่อทดแทนการตัดสินใจของคุณเอง ตลาดมีความเสี่ยงเสมอ และการลงทุนควรใช้ความระมัดระวัง 

วิเคราะห์ตลาดเชิงลึกIconBrandElement

article-thumbnail

2025-07-24 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

หุ้น AI แพงเกินไปแล้วหรือเพิ่งเริ่มต้นกันแน่? 

หุ้น AI กลายเป็นเป้าหมายหลักของตลาดมานานกว่าหนึ่งปี  จากการที่ Nvidia ทำสถิติแตะมูลค่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ ไปจนถึงการประกาศด้าน AI ครั้งใหญ่ของ Tesla ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนในตลาด นักลงทุนบน Wall Street ดูเหมือนจะยังไม่อิ่มตัว แม้แต่หุ้นอย่าง AMD และ IBM ที่เคยตามหลัง ก็ยังได้อานิสงส์จากกระแสนี้เช่นกัน  แต่คำถามที่นักลงทุนมือโปรเริ่มถามคือ: นี่คือจุดเริ่มต้นของยุค AI จริงๆ หรือเรากำลังเผชิญฟองสบู่แบบยุคดอทคอมอีกครั้ง?  เมื่อเรื่องราวในตลาดดังเกินไป และราคาขยับขึ้นแบบก้าวกระโดด ก็ถึงเวลาที่ต้องแยกแยะระหว่างความจริงกับกระแส  มาลองเจาะดูทั้งมุมมองฝั่งกระทิง ความกังวลเรื่องฟองสบู่ และสัญญาณที่นักเทรดทุกคนควรจับตาในตอนนี้  กระแสหุ้น AI ไม่ใช่เรื่องหลอก ต้องชัดเจนก่อนว่านี่ไม่ใช่ฟองสบู่แบบมีม AI ไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล่าเพื่อปั่นหุ้น เงินก้อนจริงๆ กำลังไหลเข้าสู่ตลาด  บริษัทยักษ์ใหญ่ใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์กับชิป ศูนย์ข้อมูล และจ้างวิศวกรกันเหมือนย้อนกลับไปปี 1999 แค่ Nvidia เพียงรายเดียวก็ทำรายได้จากศูนย์ข้อมูลกว่า 26,000 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ผ่านมา โตสามหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน  นี่คือความต้องการที่มีอยู่จริง Microsoft กำลังปล่อย […]

article-thumbnail

2025-07-17 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังพุ่งขึ้น และอะไรคือปัจจัยเบื้องหลัง 

บิตคอยน์ ทำสถิติใหม่อีกครั้ง พุ่งทะลุ 123,000 ดอลลาร์ ดึงเหล่านักเทรดให้กลับเข้าสู่โหมดเสี่ยงเต็มพิกัด แต่คำถามคือ นี่เป็นเพียงอีกหนึ่งรอบของกระแสเก็งกำไร หรือมีอะไรเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างแล้วจริงๆ?  ถ้ามองลึกลงไป จะเห็นว่ามีพลังขับเคลื่อนสำคัญสองอย่างที่กำลังเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งหลายคนยังไม่ทันเชื่อมโยงจุดเหล่านี้เข้าด้วยกัน  สิ่งแรกกำลังคลี่คลายอยู่ในวอชิงตัน ขณะที่อีกกระแสหนึ่งก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ในระบบการเงินโลก โดยส่งสัญญาณล่วงหน้าแบบเดียวกับที่เคยหนุนให้บิตคอยน์พุ่งแรงมาแล้วหลายรอบ  และเมื่อรวมทั้งสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังไต่ระดับขึ้น และทำไมรอบนี้อาจไม่ใช่แค่การพุ่งขึ้นชั่วคราวเหมือนที่ผ่านมา  กฎหมายคริปโตฉบับใหม่เปลี่ยนเกมทั้งกระดาน  ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นักลงทุนบิตคอยน์ต้องเผชิญกับคำถามคาใจหนึ่งที่ยังไร้คำตอบจากฝั่งอเมริกา: สหรัฐฯ เอาจริงเอาจังกับคริปโตแค่ไหนกันแน่?  ตั้งแต่กรณีที่ SEC ไล่จัดการกับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ ไปจนถึงการถกเถียงว่า ETH หรือ stablecoin ควรถูกจัดเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ และการขาดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยสิ้นเชิง ทำให้เงินทุนจากสถาบันส่วนใหญ่มักเลือกอยู่เฉยๆ แต่ตอนนี้สถานการณ์กำลังเปลี่ยนไปแล้ว  สภาผู้แทนราษฎรกำลังผลักดันกฎหมายคริปโตชุดใหญ่หลายฉบับ โดยเฉพาะร่างกฎหมาย Financial Innovation and Technology for the 21st Century Act ที่ถูกออกแบบมาเพื่อระบุให้ชัดเจนว่าใครมีหน้าที่ดูแลอะไร มอบอำนาจกำกับดูแลบิตคอยน์และคริปโตประเภทอื่นให้กับ CFTC มากขึ้น พร้อมทั้งวางกรอบการขอใบอนุญาตระดับชาติให้กับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนและ stablecoin อย่างเป็นทางการ  ทำไมบิตคอยน์ถึงชอบร่างกฎหมายคริปโต  บิตคอยน์ไม่ได้พุ่งขึ้นเพราะมีร่างกฎหมายบางฉบับที่อาจจะผ่าน […]

article-thumbnail

2025-07-14 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

พรรคอเมริกาของ Musk ส่งสัญญาณบวกหรือลบต่อหุ้น TSLA? 

อีลอน มัสก์ กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่เรื่องจรวดหรือหุ่นยนต์แท็กซี่ แต่เป็นการเปิดตัวขบวนการทางการเมืองของเขาเองในชื่อว่า “พรรคอเมริกา”  ในมุมแรกอาจดูเหมือนโปรเจกต์ส่วนตัวแปลกๆ ของมหาเศรษฐีอีกชิ้นหนึ่ง แต่ถ้าสังเกตให้ดี มันอาจกลายเป็นหมากตัวใหม่ที่ส่งผลต่อทิศทางการเมืองและเศรษฐกิจในอนาคต และอาจเป็นแรงหนุนต่อหุ้น Tesla (TSLA) ในแบบที่นักลงทุน Wall Street หลายคนยังมองไม่เห็น  พรรคอเมริกาคืออะไร?  แล้วจริงๆ พรรคอเมริกาคืออะไร? และทำไมมัสก์ถึงสร้างมันขึ้นมา?  พูดง่ายๆ นี่คือคำตอบของอีลอน มัสก์ต่อระบบที่เขามองว่า “ล้มเหลว” พรรคอเมริกาเป็นขบวนการทางการเมืองใหม่ ที่ตั้งใจมาท้าทายระบบการผูกขาดของสองพรรคใหญ่ในสหรัฐฯ มัสก์ระบุว่า พรรคนี้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการพูด เปิดพื้นที่ให้การถกเถียงทางการเมืองกว้างขึ้น และอาจมีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านภาษีและกฎระเบียบที่กระทบต่อธุรกิจของเขาโดยตรง  ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเกินตัว โค้ดภาษีที่ไม่เป็นธรรม หรือกฎระเบียบที่ขัดขวางเทคโนโลยีใหม่ๆ มัสก์ต้องการลุกขึ้นมาท้าทายทั้งหมดนี้ และสร้างระบบที่ให้ “ไอเดียที่ดีที่สุด” ชนะ ไม่ใช่ “คนที่วิ่งล็อบบี้เก่งที่สุด”  แต่มันยังมีอีกชั้นหนึ่ง พรรคอเมริกาดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ตอบโต้ของมัสก์ต่อภัยคุกคามอย่างข้อเสนอของทรัมป์ในการเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจากยุโรป ซึ่งอาจกระทบต่อโรงงาน Tesla ในเบอร์ลิน การมีพรรคการเมืองของตัวเอง ทำให้มัสก์ไม่ได้แค่ตั้งรับ แต่รุกกลับเต็มที่ ตั้งเป้าสร้างบทสนทนาใหม่ในสังคม และผลักดันนโยบายที่จะทำให้สหรัฐฯ แข่งขันได้ในเทคโนโลยี พลังงาน และอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง  พูดให้เข้าใจง่ายๆ: พรรคอเมริกาคือวิธีของมัสก์ในการ […]