ราคาน้ำมันจะไปทางไหน? ข้อตกลงรัสเซีย-ยูเครนส่งผลอย่างไร?

2025-03-24 | ข้อตกลงสันติภาพรัสเซียยูเครน , ตลาดน้ำมันโลก , บทความวิเคราะห์ตลาดรายสัปดาห์ , ผลกระทบราคาน้ำมันจากรัสเซีย , วิเคราะห์ราคาน้ำมัน

ข่าวการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง และตลาดโลกก็กำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะตลาดน้ำมัน ตั้งแต่สงครามเริ่มต้นในปี 2022 ราคาน้ำมันมีความผันผวนอย่างหนัก  ทำให้เคยพุ่งขึ้นเกือบ 50% แตะระดับสูงกว่า $120 ต่อบาร์เรลในช่วงหนึ่ง สงครามทำให้ซัพพลายทั่วโลกหยุดชะงัก เกิดมาตรการคว่ำบาตรและส่งแรงกดดันต่อตลาดพลังงานทั่วโลก แต่ตอนนี้เมื่อมีสัญญาณของข้อตกลงสันติภาพ ราคาน้ำมันอาจเผชิญกับบททดสอบครั้งใหม่ ราคาจะร่วงลงเมื่อความกังวลด้านอุปทานคลี่คลาย? หรือจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอีกครั้ง? 

ติดตามบทวิเคราะห์เชิงลึกว่าข้อตกลงครั้งนี้อาจเปลี่ยนทิศทางของตลาดน้ำมันอย่างไร 

ข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดน้ำมันโลก โดยเฉพาะในด้านอุปทาน การค้า และความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ 

🔹 อุปทานน้ำมันจากรัสเซียอาจเพิ่มขึ้น: มาตรการคว่ำบาตรที่ผ่านมาได้จำกัดการส่งออกของรัสเซีย ทำให้ต้องขายน้ำมันในราคาต่ำ หากมีข้อตกลงสันติภาพ ข้อจำกัดเหล่านี้อาจผ่อนคลาย ส่งผลให้รัสเซียสามารถส่งออกน้ำมันกลับเข้าสู่ตลาดโลกได้มากขึ้น 

🔹 ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์อาจลดลง: ตลอดสงคราม ความไม่แน่นอนได้ส่งผลให้ตลาดมีการตั้งราคาที่รวม “ค่าความเสี่ยง” เอาไว้ หากสงครามสิ้นสุดลง ความเสี่ยงนี้ก็จะหายไป ซึ่งอาจกดดันราคาน้ำมันให้ลดลง 

🔹 ท่าทีของ OPEC+ ยังไม่แน่นอน: รัสเซียเป็นสมาชิกหลักของกลุ่ม OPEC+ การเปลี่ยนแปลงในกลยุทธ์การผลิตของรัสเซียหลังจากมีข้อตกลงสันติภาพ อาจส่งผลกระทบต่อแผนการผลิตของทั้งกลุ่ม 

หากอุปทานน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการยังคงเท่าเดิม ราคาน้ำมันก็มีโอกาสปรับตัวลดลง แต่ในโลกของตลาดพลังงาน ทุกอย่างมักไม่ง่ายขนาดนั้น 

ข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจนำมาซึ่งเสถียรภาพในตลาดน้ำมันโลก หากความตึงเครียดคลี่คลายและมาตรการคว่ำบาตรถูกยกเลิก การผลิตน้ำมันของรัสเซียอาจพุ่งสูงขึ้น และเมื่อมีน้ำมันเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ราคาน้ำมันก็อาจปรับตัวลดลง 

นักวิเคราะห์บางรายคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันอาจลดลง 5 ดอลลาร์ ถึง 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งอิงจากสมมติฐานที่ว่า รัสเซียจะเพิ่มการส่งออกน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากอุปทานที่มากขึ้นมักนำไปสู่ราคาที่ลดลง 

อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขของข้อตกลงสันติภาพ จะเป็นตัวแปรสำคัญเช่นกัน หากในข้อตกลงมีการระบุให้ลดกำลังการผลิตเพื่อพยุงราคาตลาด ก็อาจทำให้ผลกระทบต่อราคาน้ำมัน ลดลงหรือจำกัดอยู่ในระดับหนึ่ง 

พูดง่ายๆก็คือข้อตกลงสันติภาพไม่ได้หมายความว่าราคาน้ำมันจะต้องลดลงเสมอไป 

ไม่ใช่ทุกคนที่เชื่อว่าราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้น ขณะนี้ กองทุนเฮดจ์ฟันด์กำลังลดการถือสถานะซื้อ (Long) ในน้ำมันลงอย่างต่อเนื่อง 

🔹 จำนวนสัญญาซื้อ WTI Crude Oil (Long-only positions) ลดลงเหลือ 172,576 สัญญา (ณ วันที่ 4 มี.ค.) ซึ่งใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2010 

🔹 ภายในไม่กี่สัปดาห์ จำนวนสถานะซื้อหายไปเกือบ 100,000 สัญญา ถือเป็นการปรับลดครั้งใหญ่ 

🔹 ตั้งแต่กลางเดือนมกราคม ราคาน้ำมันลดลงแล้ว 17% โดยอยู่ที่ประมาณ 67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2024 

🔹 นี่เป็นการลดลงติดต่อกัน 7 สัปดาห์ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลยนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2023 

ตอนนี้มีนักลงทุนจำนวนมากเริ่มเปิดสถานะ “ขาย” ในน้ำมัน ซึ่งอาจนำไปสู่ แรงบีบจากฝั่ง Short (Short Squeeze) หากราคาหยุดลงและดีดกลับขึ้นมาอย่างรุนแรง 

แม้ว่าจะมีนักลงทุนจำนวนมากเริ่มเปิดสถานะ “ขาย” (Bearish bets) ในน้ำมัน แต่ไม่ได้หมายความว่าราคาน้ำมันจะต้องพังเสมอไป นี่คือเหตุผล: 

🔹 ความต้องการยังแข็งแกร่ง: การใช้พลังงานทั่วโลกยังอยู่ในระดับสูง หากอุปทานลดลงเมื่อไร ตลาดก็อาจกลับมาตึงตัวได้ทันที 

🔹 OPEC+ อาจเข้าแทรกแซง: หากราคาน้ำมันร่วงแรงเกินไป กลุ่ม OPEC+ ก็อาจตัดสินใจลดกำลังการผลิตเพื่อพยุงราคา 

🔹 ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงอยู่: แม้สงครามรัสเซีย-ยูเครนจะสิ้นสุดลง ความตึงเครียดในตะวันออกกลางหรือภูมิภาคอื่นๆ ก็ยังสามารถทำให้ราคาน้ำมันผันผวนได้อยู่ 

🔹 สหรัฐฯ อาจเริ่มเติมคลังน้ำมันสำรอง (SPR): หลังจากที่สหรัฐฯ ปล่อยน้ำมันจากคลังสำรองระดับประวัติการณ์ในปี 2022–2023 ตอนนี้มีความจำเป็นต้องเติมกลับ หากราคาน้ำมันต่ำเกินไป รัฐบาลสหรัฐฯ อาจเริ่มเข้าซื้อ ซึ่งจะกลายเป็นแนวรับ (floor) ให้กับราคาน้ำมัน 

ราคาน้ำมันในกราฟรายสัปดาห์กำลังเคลื่อนไหวในรูปแบบ “สามเหลี่ยมลดลง (Descending Triangle)” ซึ่งเป็นรูปแบบที่มักบ่งบอกถึงแนวโน้มขาลง 

🔹 แนวรับสำคัญอยู่ที่บริเวณ $65 ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่ถูกทดสอบมาแล้วหลายครั้ง หากราคาหลุดต่ำกว่าบริเวณนี้ อาจเกิดแรงขายรอบใหม่ 

🔹 กรณีเป็นขาลง (Bearish): หากราคาหลุดจากแนวรับของสามเหลี่ยมอย่างชัดเจน มีโอกาสลงไปทดสอบบริเวณ $60 หรือต่ำกว่านั้น 

🔹 กรณีเป็นขาขึ้น (Bullish Invalidation): หากราคาสามารถทะลุแนวต้านด้านบนของสามเหลี่ยมที่บริเวณ $77–$78 ได้อย่างชัดเจน จะเป็นสัญญาณที่แรงซื้อกลับเข้ามาควบคุม และอาจพลิกกลับเป็นแนวโน้มขาขึ้น 

ณ ตอนนี้ ราคาน้ำมันยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ เทรดเดอร์ส่วนใหญ่กำลังรอสัญญาณที่ชัดเจนว่าแนวโน้มจะไปทางไหน 

คำถามคือ… ราคาน้ำมันจะทะลุขึ้น หรือร่วงลง? ติดตามบทวิเคราะห์ล่าสุดและอัปเดตแนวโน้มราคาน้ำมันได้ที่บล็อกของเรา 


การเปิดเผยความเสี่ยง 
หลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส CFD และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงินพื้นฐาน เนื่องจากความเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดเดาไม่ได้ อาจเกิดการขาดทุนมากกว่าการลงทุนเริ่มต้นของท่านในระยะเวลาอันสั้น    
โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายกับเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภทอย่างถ่องแท้ก่อนทำธุรกรรมกับเรา หากท่านไม่เข้าใจความเสี่ยงดังที่ได้อธิบายไว้ในนี้ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอิสระ 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ   
ข้อมูลที่ปรากฏในบล็อกนี้มีไว้เพื่ออ้างอิงทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาให้เป็นคำแนะนำการลงทุน ข้อเสนอแนะ คำเชิญ หรือการเสนอขายหรือซื้อเครื่องมือทางการเงินใดๆ ทั้งนี้ไม่ได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์การลงทุนหรือสถานการณ์ทางการเงินเฉพาะของผู้รับข้อมูลแต่ละราย ผลการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลการดำเนินงานในอนาคต Doo Prime และบริษัทในเครือไม่ให้การรับรองหรือรับประกันใดๆ เกี่ยวกับความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลนี้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการใช้ข้อมูลนี้หรือลงทุนตามข้อมูลดังกล่าว  
กลยุทธ์ที่กล่าวถึงข้างต้นสะท้อนถึงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ควรใช้หรือพิจารณาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจซื้อขายหรือคำเชิญชวนให้เข้าทำธุรกรรมใดๆ Doo Prime ไม่รับรองความถูกต้องหรือความครบถ้วนของรายงานนี้และปฏิเสธความรับผิดใดๆ ต่อความเสียหายที่เป็นผลมาจากการใช้รายงานนี้ คุณไม่ควรพึ่งพารายงานนี้แต่เพียงอย่างเดียวเพื่อทดแทนการตัดสินใจของคุณเอง ตลาดมีความเสี่ยงเสมอ และการลงทุนควรใช้ความระมัดระวัง 

วิเคราะห์ตลาดเชิงลึกIconBrandElement

article-thumbnail

2025-07-24 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

หุ้น AI แพงเกินไปแล้วหรือเพิ่งเริ่มต้นกันแน่? 

หุ้น AI กลายเป็นเป้าหมายหลักของตลาดมานานกว่าหนึ่งปี  จากการที่ Nvidia ทำสถิติแตะมูลค่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ ไปจนถึงการประกาศด้าน AI ครั้งใหญ่ของ Tesla ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนในตลาด นักลงทุนบน Wall Street ดูเหมือนจะยังไม่อิ่มตัว แม้แต่หุ้นอย่าง AMD และ IBM ที่เคยตามหลัง ก็ยังได้อานิสงส์จากกระแสนี้เช่นกัน  แต่คำถามที่นักลงทุนมือโปรเริ่มถามคือ: นี่คือจุดเริ่มต้นของยุค AI จริงๆ หรือเรากำลังเผชิญฟองสบู่แบบยุคดอทคอมอีกครั้ง?  เมื่อเรื่องราวในตลาดดังเกินไป และราคาขยับขึ้นแบบก้าวกระโดด ก็ถึงเวลาที่ต้องแยกแยะระหว่างความจริงกับกระแส  มาลองเจาะดูทั้งมุมมองฝั่งกระทิง ความกังวลเรื่องฟองสบู่ และสัญญาณที่นักเทรดทุกคนควรจับตาในตอนนี้  กระแสหุ้น AI ไม่ใช่เรื่องหลอก ต้องชัดเจนก่อนว่านี่ไม่ใช่ฟองสบู่แบบมีม AI ไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล่าเพื่อปั่นหุ้น เงินก้อนจริงๆ กำลังไหลเข้าสู่ตลาด  บริษัทยักษ์ใหญ่ใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์กับชิป ศูนย์ข้อมูล และจ้างวิศวกรกันเหมือนย้อนกลับไปปี 1999 แค่ Nvidia เพียงรายเดียวก็ทำรายได้จากศูนย์ข้อมูลกว่า 26,000 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ผ่านมา โตสามหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน  นี่คือความต้องการที่มีอยู่จริง Microsoft กำลังปล่อย […]

article-thumbnail

2025-07-17 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังพุ่งขึ้น และอะไรคือปัจจัยเบื้องหลัง 

บิตคอยน์ ทำสถิติใหม่อีกครั้ง พุ่งทะลุ 123,000 ดอลลาร์ ดึงเหล่านักเทรดให้กลับเข้าสู่โหมดเสี่ยงเต็มพิกัด แต่คำถามคือ นี่เป็นเพียงอีกหนึ่งรอบของกระแสเก็งกำไร หรือมีอะไรเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างแล้วจริงๆ?  ถ้ามองลึกลงไป จะเห็นว่ามีพลังขับเคลื่อนสำคัญสองอย่างที่กำลังเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งหลายคนยังไม่ทันเชื่อมโยงจุดเหล่านี้เข้าด้วยกัน  สิ่งแรกกำลังคลี่คลายอยู่ในวอชิงตัน ขณะที่อีกกระแสหนึ่งก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ในระบบการเงินโลก โดยส่งสัญญาณล่วงหน้าแบบเดียวกับที่เคยหนุนให้บิตคอยน์พุ่งแรงมาแล้วหลายรอบ  และเมื่อรวมทั้งสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังไต่ระดับขึ้น และทำไมรอบนี้อาจไม่ใช่แค่การพุ่งขึ้นชั่วคราวเหมือนที่ผ่านมา  กฎหมายคริปโตฉบับใหม่เปลี่ยนเกมทั้งกระดาน  ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นักลงทุนบิตคอยน์ต้องเผชิญกับคำถามคาใจหนึ่งที่ยังไร้คำตอบจากฝั่งอเมริกา: สหรัฐฯ เอาจริงเอาจังกับคริปโตแค่ไหนกันแน่?  ตั้งแต่กรณีที่ SEC ไล่จัดการกับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ ไปจนถึงการถกเถียงว่า ETH หรือ stablecoin ควรถูกจัดเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ และการขาดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยสิ้นเชิง ทำให้เงินทุนจากสถาบันส่วนใหญ่มักเลือกอยู่เฉยๆ แต่ตอนนี้สถานการณ์กำลังเปลี่ยนไปแล้ว  สภาผู้แทนราษฎรกำลังผลักดันกฎหมายคริปโตชุดใหญ่หลายฉบับ โดยเฉพาะร่างกฎหมาย Financial Innovation and Technology for the 21st Century Act ที่ถูกออกแบบมาเพื่อระบุให้ชัดเจนว่าใครมีหน้าที่ดูแลอะไร มอบอำนาจกำกับดูแลบิตคอยน์และคริปโตประเภทอื่นให้กับ CFTC มากขึ้น พร้อมทั้งวางกรอบการขอใบอนุญาตระดับชาติให้กับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนและ stablecoin อย่างเป็นทางการ  ทำไมบิตคอยน์ถึงชอบร่างกฎหมายคริปโต  บิตคอยน์ไม่ได้พุ่งขึ้นเพราะมีร่างกฎหมายบางฉบับที่อาจจะผ่าน […]

article-thumbnail

2025-07-14 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

พรรคอเมริกาของ Musk ส่งสัญญาณบวกหรือลบต่อหุ้น TSLA? 

อีลอน มัสก์ กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่เรื่องจรวดหรือหุ่นยนต์แท็กซี่ แต่เป็นการเปิดตัวขบวนการทางการเมืองของเขาเองในชื่อว่า “พรรคอเมริกา”  ในมุมแรกอาจดูเหมือนโปรเจกต์ส่วนตัวแปลกๆ ของมหาเศรษฐีอีกชิ้นหนึ่ง แต่ถ้าสังเกตให้ดี มันอาจกลายเป็นหมากตัวใหม่ที่ส่งผลต่อทิศทางการเมืองและเศรษฐกิจในอนาคต และอาจเป็นแรงหนุนต่อหุ้น Tesla (TSLA) ในแบบที่นักลงทุน Wall Street หลายคนยังมองไม่เห็น  พรรคอเมริกาคืออะไร?  แล้วจริงๆ พรรคอเมริกาคืออะไร? และทำไมมัสก์ถึงสร้างมันขึ้นมา?  พูดง่ายๆ นี่คือคำตอบของอีลอน มัสก์ต่อระบบที่เขามองว่า “ล้มเหลว” พรรคอเมริกาเป็นขบวนการทางการเมืองใหม่ ที่ตั้งใจมาท้าทายระบบการผูกขาดของสองพรรคใหญ่ในสหรัฐฯ มัสก์ระบุว่า พรรคนี้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการพูด เปิดพื้นที่ให้การถกเถียงทางการเมืองกว้างขึ้น และอาจมีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านภาษีและกฎระเบียบที่กระทบต่อธุรกิจของเขาโดยตรง  ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเกินตัว โค้ดภาษีที่ไม่เป็นธรรม หรือกฎระเบียบที่ขัดขวางเทคโนโลยีใหม่ๆ มัสก์ต้องการลุกขึ้นมาท้าทายทั้งหมดนี้ และสร้างระบบที่ให้ “ไอเดียที่ดีที่สุด” ชนะ ไม่ใช่ “คนที่วิ่งล็อบบี้เก่งที่สุด”  แต่มันยังมีอีกชั้นหนึ่ง พรรคอเมริกาดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ตอบโต้ของมัสก์ต่อภัยคุกคามอย่างข้อเสนอของทรัมป์ในการเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจากยุโรป ซึ่งอาจกระทบต่อโรงงาน Tesla ในเบอร์ลิน การมีพรรคการเมืองของตัวเอง ทำให้มัสก์ไม่ได้แค่ตั้งรับ แต่รุกกลับเต็มที่ ตั้งเป้าสร้างบทสนทนาใหม่ในสังคม และผลักดันนโยบายที่จะทำให้สหรัฐฯ แข่งขันได้ในเทคโนโลยี พลังงาน และอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง  พูดให้เข้าใจง่ายๆ: พรรคอเมริกาคือวิธีของมัสก์ในการ […]