‘หุ้นกลุ่มกลาโหม’ สหรัฐร่วงหนักหลังทรัมป์เน้นสันติภาพแทนสงคราม

2025-03-05 | ข่าวสารการลงทุน , ทรัมป์ , บทความวิเคราะห์ตลาดรายสัปดาห์ , หุ้นกลุ่มกลาโหม , หุ้นยุโรป , หุ้นสหรัฐ

หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ หรือเรียกกันอีกชื่อว่า “หุ้นกลุ่มกลาโหม” ของสหรัฐกำลังได้รับผลกระทบ นักลงทุนต่างจับตามองอย่างใกล้ชิด หลังจากทรัมป์ประกาศยุติสงครามที่ยืดเยื้อมานาน  

ช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายบริษัทที่เกี่ยวกับด้านการป้องกันประเทศอยู่ในช่วงขาขึ้นจากความขัดแย้งทั่วโลก แต่ตอนนี้เมื่อทรัมป์หันมาให้คำมั่นว่าจะลดการแทรกแซงทางทหาร ทำให้สถานการณ์ในตลาดตอนนี้เปลี่ยนไปยังไงบ้าง? มาอ่านต่อกัน 

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้รับผลประโยชน์จากสงครามและความขัดแย้งมาโดยตลอด การใช้จ่ายทางทหารถูกใช้ไปกับเชื้อเพลิง อาวุธ และการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เมื่อมีส 

ครามเกิดขึ้น มูลค่าหุ้นก็เพิ่มขึ้นตาม แต่ในทางกลับกัน เมื่อมีการเจรจาเพื่อสันติภาพ ทำให้มูลค่าลดลง  

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ทรัมป์ต้องการที่จะลดบทบาททางทหารและหันมาให้ความสำคัญกับการเจรจาทางการทูตแทน ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความวิตกกังวลและเทขายหุ้นของอุตสาหกรรมนี้  

ทรัมป์ประกาศชัดเจนว่าไม่มีสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้นน หรือ No more endless wars นั่นหมายความว่าสหรัฐจะถอนกำลังทหารออกจากจุดต่างๆทั่วโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ  

  • ถอนกำลังทหารออกจากตะวันออกกลางและยุโรป  
  • ลดงบประมาณทางทหารและให้ความสำคัญกับนโยบายในประเทศ  
  • ลดการแทรกแซงคสามขัดแย้งระหว่างประเทศ  

สำหรับบริษัทด้านการป้องกันประเทศอาจตกอยู่ที่นั่งลำบาก เพราะการทำสัญญากับรัฐบาลอาจลดลง การซื้อขายอาวุธระหว่างประเทศอาจชะลอตัวลง ทำให้นักลงทุนมองเห็นถึงความเสี่ยงและทะยอยขายหุ้นออกไป  

เริ่มจากวิเคราะห์ผลประกอบการของหุ้นป้องกันประเทศของสหรัฐ จะเห็นว่ากำลังอยู่ในจุดขาลง  

หุ้นกลาโหมสหรัฐ NOC

ตลอดเดือนที่ผ่านมา: 

หุ้น ผลประกอบการ 
Lockheed Martin (LMT)                -11.74% 
Northrop Grumman: (NOC)                -10.84% 
General Dynamics (GD)                -9.49% 
AXON Enterprise (AXON)                -15.53 

แต่ในขณะที่หุ้นยุโรปกลับพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว  

หุ้นกลาโหมยุโรป RHM
หุ้น ผลประกอบการ 
Rheinmetall (RHM.DE)                +32.70 
Thales (FR)               +23.11 
BAE Systems (GB)                +8.24 
Airbus (EU)                +1.5 

การดิ่งลงของหุ้นกลุ่มนี้อาจเกี่ยวข้องกับข่าวที่ว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐกำลังเตรียมตัดงบประมาณก่อนการตรวจสอบความโปร่งใสของงบประมาณกลาโหม จาก DOGE (Department of Government Efficiency) ที่นำโดยอีลอน มักส์  

แต่ในทางกลับกัน หุ้นกลุ่มนี้ดันเป็นกลุ่มที่นักลงทุนให้ความสนใจเนื่องจากผลประกอบการเป็นไปในทิศทางขาขึ้น และคาดว่าการใช้จ่ายทางทหารของยุโรปจะเพิ่มมากขึ้น เพื่อชดเชยบทบาทของรัฐบาลสหรัฐที่ลดลง  

ทรัมป์มีแผนลดงบประมาณของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) 8% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี  

ถือว่าเป็นงบประมาณที่มีมูลค่าสูงถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ โดยงบประมาณส่วนนี้จะถูกย้ายไปใช้กับความมั่นคงชายแดนและเทคโนโลยีโดรนแทน ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดและเป็นที่มาของหุ้นป้องกันประเทศร่วงหนัก   

ตัวอย่างบริษัทมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมกลาโหมอย่าง Palantir Technologies เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญด้าน AI และ Big Data Analytics ที่ให้บริการแก่หน่วยข่าวกรอง กองทัพและภาคอื่นๆ ซึ่งหลังจากที่มีการประกาศข่าวเรื่องงบประมาณออกมา ส่งผลให้หุ้น Palantir Technologies ลดลงถึง 10%  

โรเบิร์ต ซาเลสเซส รองปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า การตัดงบประมาณนี้จะช่วยปรับปรุงค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทผู้รับเหมาที่เกี่ยวข้อง อาจได้รับผลประทบในแง่ของการเสียหายรายได้มหาศาล  

ทรัมป์ต้องการหยุดสงครามในยูเครนและหันมาสนับสนุนให้มีการเจรจาแบบสันติภาพ แต่ทาง Zelensky ผู้นำยูเครนกลับไม่เห็นด้วย และต้องการสู้ต่อ  

ทางด้านสหภาพยุโรป (EU) ก็ไม่เห็นด้วยจากการที่มีการยุติสงครามที่รวดเร็วเกินไป และยังมองว่ารัสเซียยังคงเป็นภัยคุกคามระยะยาว  

สถานการณ์เหล่านี้ทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในยุโรปมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นกลาโหม เพราะมีความเชื่อว่าทางยุโรปเองก็ต้องให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายทางทหารมากขึ้น เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกภัยคุกคาม ส่งผลให้บริษัทเยอรมัน ฝรั่งเศษ และอังกฤษได้รับผลประโยชน์จากเรื่องนี้  

นโยบาย “American First” ของทรัมป์กำลังสร้างความสั่นสะเทือนให้กับพันธมิตรทั่วโลก สหรัฐถอนตัว ทำให้ NATO วิตกกังวลว่าพวกเขาจะสามารถพึ่งพาสหรัฐด้านการปกป้องประเทศได้อยู่ไหม หลายประเทศก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจ  

ความไม่แน่นอนในพันธมิตร NATO ทำให้ประเทศต่างๆในยุโรปเริ่มจัดซื้ออาวุธ รถถัง และเครื่องบินรบมากขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้หุ้นยุโรปดีดขึ้นสวนทางกับหุ้นกลาโหมของสหรัฐ  

งบกลาโหมสหรัฐ แตะจุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์

ว่านี่อาจจะไม่ได้เป็นจุดจบของหุ้นกลุ่มนี้ แต่เป็นเพียงแต่สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเท่านั้น  

เรื่องนี้มองได้ 2 แง่ ถ้าหากทรัมป์ยังคงเดินหน้ามุ่งเน้นสันติภาพ หุ้นกลาโหมก็ยังคงซบเซา แต่ถ้าหากความขัดแย้งกลับขึ้นมาอีกครั้ง ก็อาจทำให้หุ้นกลุ่มนี้ฟื้นตัวขึ้นมา  

ซึ่งไม่ต่างกับนักวิเคราะห์ที่ก็มองเป็นหลากหลายมุมมอง บางฝ่ายอาจมองว่านี่คือโอกาสในการเข้าซื้อ บางฝ่ายเตือนว่าอุตสาหกรรมอาจกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่  

สิ่งที่น่าเก็บไปคิด :  

งบประมาณกลาโหมในปี 2025 จะมีแนวโน้มลดหรือไม่?  

ความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์ หากเกิดความขัดแย้งขึ้นอีก หุ้นก็มีแนวโน้มกลับมา  

รายงานผลประกอบการ บริษัทอาจต้องปรับคาดการณ์รายได้  

คิดว่าไม่จำเป็นต้องกังวลมากเท่าไหร่ เพราะถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนงลประมาณ แต่อุตสาหกรรมกลาโหมจะยังคงมีความสำคัญระยะยาว สหรัฐยังคงพึ่งพากำลังทางทหาร แต่แค่รูปแบบการใช้เงินอาจเปลี่ยนไป  

บริษัทอาจเปลี่ยนไปเน้นเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น Cybersecurity ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีอื่นๆ แทนการผลิตอาวุธแบบเดิม 

นักลงทุนอาจลองพิจารณาปรับกลยุทธ์การลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของกลาโหม แต่ก็ต้องถามตัวเองว่าคุณพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?  

ติดตามบทวิเคราะห์อื่นๆของเราที่นี่  

วิเคราะห์ตลาดเชิงลึกIconBrandElement

article-thumbnail

2025-07-24 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

หุ้น AI แพงเกินไปแล้วหรือเพิ่งเริ่มต้นกันแน่? 

หุ้น AI กลายเป็นเป้าหมายหลักของตลาดมานานกว่าหนึ่งปี  จากการที่ Nvidia ทำสถิติแตะมูลค่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ ไปจนถึงการประกาศด้าน AI ครั้งใหญ่ของ Tesla ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนในตลาด นักลงทุนบน Wall Street ดูเหมือนจะยังไม่อิ่มตัว แม้แต่หุ้นอย่าง AMD และ IBM ที่เคยตามหลัง ก็ยังได้อานิสงส์จากกระแสนี้เช่นกัน  แต่คำถามที่นักลงทุนมือโปรเริ่มถามคือ: นี่คือจุดเริ่มต้นของยุค AI จริงๆ หรือเรากำลังเผชิญฟองสบู่แบบยุคดอทคอมอีกครั้ง?  เมื่อเรื่องราวในตลาดดังเกินไป และราคาขยับขึ้นแบบก้าวกระโดด ก็ถึงเวลาที่ต้องแยกแยะระหว่างความจริงกับกระแส  มาลองเจาะดูทั้งมุมมองฝั่งกระทิง ความกังวลเรื่องฟองสบู่ และสัญญาณที่นักเทรดทุกคนควรจับตาในตอนนี้  กระแสหุ้น AI ไม่ใช่เรื่องหลอก ต้องชัดเจนก่อนว่านี่ไม่ใช่ฟองสบู่แบบมีม AI ไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล่าเพื่อปั่นหุ้น เงินก้อนจริงๆ กำลังไหลเข้าสู่ตลาด  บริษัทยักษ์ใหญ่ใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์กับชิป ศูนย์ข้อมูล และจ้างวิศวกรกันเหมือนย้อนกลับไปปี 1999 แค่ Nvidia เพียงรายเดียวก็ทำรายได้จากศูนย์ข้อมูลกว่า 26,000 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ผ่านมา โตสามหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน  นี่คือความต้องการที่มีอยู่จริง Microsoft กำลังปล่อย […]

article-thumbnail

2025-07-17 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังพุ่งขึ้น และอะไรคือปัจจัยเบื้องหลัง 

บิตคอยน์ ทำสถิติใหม่อีกครั้ง พุ่งทะลุ 123,000 ดอลลาร์ ดึงเหล่านักเทรดให้กลับเข้าสู่โหมดเสี่ยงเต็มพิกัด แต่คำถามคือ นี่เป็นเพียงอีกหนึ่งรอบของกระแสเก็งกำไร หรือมีอะไรเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างแล้วจริงๆ?  ถ้ามองลึกลงไป จะเห็นว่ามีพลังขับเคลื่อนสำคัญสองอย่างที่กำลังเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งหลายคนยังไม่ทันเชื่อมโยงจุดเหล่านี้เข้าด้วยกัน  สิ่งแรกกำลังคลี่คลายอยู่ในวอชิงตัน ขณะที่อีกกระแสหนึ่งก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ในระบบการเงินโลก โดยส่งสัญญาณล่วงหน้าแบบเดียวกับที่เคยหนุนให้บิตคอยน์พุ่งแรงมาแล้วหลายรอบ  และเมื่อรวมทั้งสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมบิตคอยน์ถึงกำลังไต่ระดับขึ้น และทำไมรอบนี้อาจไม่ใช่แค่การพุ่งขึ้นชั่วคราวเหมือนที่ผ่านมา  กฎหมายคริปโตฉบับใหม่เปลี่ยนเกมทั้งกระดาน  ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นักลงทุนบิตคอยน์ต้องเผชิญกับคำถามคาใจหนึ่งที่ยังไร้คำตอบจากฝั่งอเมริกา: สหรัฐฯ เอาจริงเอาจังกับคริปโตแค่ไหนกันแน่?  ตั้งแต่กรณีที่ SEC ไล่จัดการกับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ ไปจนถึงการถกเถียงว่า ETH หรือ stablecoin ควรถูกจัดเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ และการขาดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนโดยสิ้นเชิง ทำให้เงินทุนจากสถาบันส่วนใหญ่มักเลือกอยู่เฉยๆ แต่ตอนนี้สถานการณ์กำลังเปลี่ยนไปแล้ว  สภาผู้แทนราษฎรกำลังผลักดันกฎหมายคริปโตชุดใหญ่หลายฉบับ โดยเฉพาะร่างกฎหมาย Financial Innovation and Technology for the 21st Century Act ที่ถูกออกแบบมาเพื่อระบุให้ชัดเจนว่าใครมีหน้าที่ดูแลอะไร มอบอำนาจกำกับดูแลบิตคอยน์และคริปโตประเภทอื่นให้กับ CFTC มากขึ้น พร้อมทั้งวางกรอบการขอใบอนุญาตระดับชาติให้กับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนและ stablecoin อย่างเป็นทางการ  ทำไมบิตคอยน์ถึงชอบร่างกฎหมายคริปโต  บิตคอยน์ไม่ได้พุ่งขึ้นเพราะมีร่างกฎหมายบางฉบับที่อาจจะผ่าน […]

article-thumbnail

2025-07-14 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

พรรคอเมริกาของ Musk ส่งสัญญาณบวกหรือลบต่อหุ้น TSLA? 

อีลอน มัสก์ กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่เรื่องจรวดหรือหุ่นยนต์แท็กซี่ แต่เป็นการเปิดตัวขบวนการทางการเมืองของเขาเองในชื่อว่า “พรรคอเมริกา”  ในมุมแรกอาจดูเหมือนโปรเจกต์ส่วนตัวแปลกๆ ของมหาเศรษฐีอีกชิ้นหนึ่ง แต่ถ้าสังเกตให้ดี มันอาจกลายเป็นหมากตัวใหม่ที่ส่งผลต่อทิศทางการเมืองและเศรษฐกิจในอนาคต และอาจเป็นแรงหนุนต่อหุ้น Tesla (TSLA) ในแบบที่นักลงทุน Wall Street หลายคนยังมองไม่เห็น  พรรคอเมริกาคืออะไร?  แล้วจริงๆ พรรคอเมริกาคืออะไร? และทำไมมัสก์ถึงสร้างมันขึ้นมา?  พูดง่ายๆ นี่คือคำตอบของอีลอน มัสก์ต่อระบบที่เขามองว่า “ล้มเหลว” พรรคอเมริกาเป็นขบวนการทางการเมืองใหม่ ที่ตั้งใจมาท้าทายระบบการผูกขาดของสองพรรคใหญ่ในสหรัฐฯ มัสก์ระบุว่า พรรคนี้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการพูด เปิดพื้นที่ให้การถกเถียงทางการเมืองกว้างขึ้น และอาจมีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านภาษีและกฎระเบียบที่กระทบต่อธุรกิจของเขาโดยตรง  ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเกินตัว โค้ดภาษีที่ไม่เป็นธรรม หรือกฎระเบียบที่ขัดขวางเทคโนโลยีใหม่ๆ มัสก์ต้องการลุกขึ้นมาท้าทายทั้งหมดนี้ และสร้างระบบที่ให้ “ไอเดียที่ดีที่สุด” ชนะ ไม่ใช่ “คนที่วิ่งล็อบบี้เก่งที่สุด”  แต่มันยังมีอีกชั้นหนึ่ง พรรคอเมริกาดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ตอบโต้ของมัสก์ต่อภัยคุกคามอย่างข้อเสนอของทรัมป์ในการเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจากยุโรป ซึ่งอาจกระทบต่อโรงงาน Tesla ในเบอร์ลิน การมีพรรคการเมืองของตัวเอง ทำให้มัสก์ไม่ได้แค่ตั้งรับ แต่รุกกลับเต็มที่ ตั้งเป้าสร้างบทสนทนาใหม่ในสังคม และผลักดันนโยบายที่จะทำให้สหรัฐฯ แข่งขันได้ในเทคโนโลยี พลังงาน และอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง  พูดให้เข้าใจง่ายๆ: พรรคอเมริกาคือวิธีของมัสก์ในการ […]